𝐓𝐇𝐄 𝐖𝐈𝐒𝐃𝐎𝐌 𝐎𝐏𝐓𝐈𝐂
ร้านแว่นตาเชียงใหม่ และ เลนส์โปรเกรสซีฟ โดยนักทัศนมาตร
1. Progressive lens /โปรเกรสซีฟเลนส์
เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้หลายระยะ บนแว่นตัวเดียว โดยใช้เทคโนโลยีในการไล่ค่าสายตา จาก ระยะไกล ระยะกลาง ไปจนถึง ระยะใกล้ ตามลำดับ
จากรูปจะเห็นว่าส่วนด้านข้างของเลนส์ เป็นโซนที่มีภาพเบลอหรือที่เรียกกันว่า ภาพบิดเบือน ( Distrotion) เป็นส่วนที่ค่าสายตาไม่ถูกใช้งาน จึงต้องอาศัยการฝึกใช้งาน ให้สมองปรับตัวเข้ากับโครงสร้างเลนส์ หรือ รุ่นเลนส์นั้นๆ
2. การจัดตำแหน่งแว่นตาให้ถูกต้อง
ตั้งแต่เริ่มใช้งาน ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจในการจัดตำแหน่งแว่นตาให้เหมาะสม เนื่องจากมีการไล่ค่าสายตาตามที่เรากล่าวไปข้างต้น
โดยพื้นฐาน: อันดับแรกควรวางตำแหน่งแป้นจมูกให้พอดี และขาแว่นแบบเกี่ยว หรือแบบตรง ให้กระชับกับศีรษะ ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป
3. การฝึกใช้งาน มองภาพระยะไกล
ระยะไกลจะเป็นโซนใช้งานส่วนบนของเลนส์ เพียงผู้ใช้มองตรง จะสามารถมองระยะไกลได้ชัดเจน
4. การฝึกใช้งาน มองภาพระยะกลาง
ระยะกลางจะเป็นโซนที่แคบที่สุด บนโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟ ดังนั้นการฝึกใช้งานระยะนี้ จะต้องเข้าใจในเรื่องของตำแหน่งและจุดโฟกัส
จากรูป การใช้สายตาระยะกลาง เป็นระยะของการใช้งานคอมพิวเตอร์ ( PC ) , โน้ตบุ๊ก (ระยะ 60-80 cm.)
การมองผ่านเลนส์จะมองในโซนระยะกลาง โดยเหลือบตาลงเล็กน้อย
หากยังมองหาโฟกัสในระยะนี้ยาก สามารถปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเก้าอี้ เพื่อให้แน่ใจว่า หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา
6. การฝึกใช้งาน มองภาพด้านข้าง
ตามที่อธิบายไปข้างต้น โซนด้านข้างของเลนส์โปรเกรสซีฟจะเป็นส่วนที่มีภาพบิดเบือน ทำให้ระยะนี้ใช้งานไม่ได้ ผู้ใช้จึงต้องฝึกหลบภาพบิดเบือนด้านข้างนี้ โดยการ หันทั้งศีรษะไปยังวัตถุที่ต้องการมอง
ทริค สำหรับผู้ใช้มือใหม่ ในระยะ 1 – 2 สัปดาห์แรก ที่ฝึกใส่โปรเกรสซีฟ ให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่มีความไว ในการใช้สายตา เช่น การหันศีรษะไปมาไวๆ การทำกิจกรรมออกกำลังกายที่ต้องใช้ความเร็ว รวมไปถึงการขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ที่ต้องหันมองกระจกด้านข้าง
7. การฝึกใช้งาน เดินขึ้นและลงบันได
– การขึ้นบันได ให้ก้มศีรษะเพียงเล็กน้อย เพื่อมองผ่านระยะไกล หรือส่วนบนของเลนส์
– การลงบันได ให้มองผ่านส่วนบนของเลนส์เช่นกัน หรือมุมเฉียงประมาณ 45 องศา โดยหลีกเลี่ยงการมองผ่านส่วนล่างของเลนส์
ทริค สำหรับผู้ใช้มือใหม่ ในระยะ 1 – 2 สัปดาห์แรก ให้ระมัดระวัง ในการขึ้น-ลง บันได โดยจับราวบันไดขณะขึ้น-ลง
หากผู้ใช้ ยังรู้สึกมองระยะบันไดไม่ชัด หรือบันไดลึกกว่าปกติในระยะแรก ให้มองภาพรวมโดยการกะระยะ